ดูวิดีโอตอนนี้ ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : โรคไข้มาลาเรียโนวไซ
2 มิ.ย. 65 – บนสังคมออนไลน์แชร์ข่าวสารเกี่ยวกับโรคติดต่อที่เกี่ยวข้องกับลิง ที่ชื่อว่า “โรคมาลาเรียโนวไซ” โรคนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร เราจะดูแลตัวเองได้อย่างไร
🎯 ตรวจสอบกับ แพทย์หญิงวรยา เหลืองอ่อน
ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี
สัมภาษณ์เมื่อ 1 มิถุนายน 2565
🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์
—————————————————–
📌 สรุป 📌
Q : โรคมาลาเรียโนวไซ เป็นอย่างไร
ติดต่อได้จากลิงสู่คนจริงหรือไม่
ประเทศไทยจะดูแลและป้องกันอย่างไร ?
A : โรคมาลาเรีย ก็มีหลายชื่อ ไข้ป่า ไข้จับสั่น ทางเหนืออาจจะเรียกว่า ไข้ดอกสัก
เกิดจากเชื้อโปรโตซัว ชื่อว่า พลาสโมเดียม (Plasmodium)
Q : เชื้อที่ทำให้เป็นไข้มาลาเรีย ไม่ได้มีแค่ชนิดเดียว ?
A : ก็จะมีอยู่ 5 ชนิดที่เราเจอเนี่ย เป็นสายพันธุ์ที่ชื่อ
Plasmodium knowlesi (พลาสโมเดียม โนวไซ) หรือ ย่อๆ ว่า P.k (พีเค)
เป็นสายพันธุ์ใหม่หรือเปล่า ? จริง ๆ มันอาจจะไม่ใช่สายพันธุ์ใหม่
แต่ว่าเป็นการตรวจเจอเพิ่มมากยิ่งขึ้น
Q : ความต่าง คือระยะฟักตัว ?
A : หลังจากติดเชื้อมาแล้วเนี่ย 7 วัน ถึง 14 วัน
หรือ ถ้าเป็นสายพันธุ์ P.k อาจจะ 3 วัน ก็จะเริ่มมีอาการไข้สูง หนาวสั่น
อันนี้เป็นสัญลักษณ์สำคัญของมาลาเรีย อาจจะมีตัวเหลือง ตาเหลือง
อาการแทรกซ้อนรุนแรงอย่างเช่น อาการไตมาลาเรียขึ้นสมอง
อวัยวะภายในล้มเหลว หายใจล้มเหลว เสียชีวิตได้ค่ะ
Q : สถานการณ์ในพื้นที่เป็นอย่างไรครับ ?
A : ปีนี้เราพบมากกว่าปีที่แล้วนะคะ ภาคตะวันออก 8 จังหวัด
ที่สำนักงานฯ เราดูแลอยู่เนี่ย ตั้งแต่มกราคม เป็นต้นมา จนปัจจุบัน
เราพบมาลาเรีย 21 ราย เทียบกับปีที่แล้ว (2564) เราพบมาลาเรีย แค่ 10 ราย
ปีนี้ที่น่าสนใจก็คือว่า เชื้อสายพันธุ์พลาสโมเดียม โนวไซ หรือ P.k กลายเป็นตัวหลัก
เราเจอ P.k เนี่ย 14 ราย ในจำนวน P.k 14 ราย ก็ไปเจอที่
จังหวัดตราด ประมาณ 10 ราย อำเภอเกาะช้าง แล้วก็มีที่จังหวัดจันทบุรี 4 ราย
ซึ่งตอนนี้เราก็ยังไม่ได้เจอผู้ป่วยเพิ่มเติม
Q : การติดต่อของมาลาเรีย มียุงเป็นตัวนำเชื้อ จากลิงสู่คน ?
A : เราพบตัว P.k ในพวกลิงแสม ลิงหางยาว
เมื่อยุงก้นปล่อง ซึ่งเป็นพาหะของโรคไปกัดลิง แล้วก็มากัดคน
ก็จะทำให้มีการถ่ายทอดโรคมาจากลิงสู่คนได้ค่ะ
คือ ก็จะต้องถูกยุงกัดนี่แหละ
ที่นี้ยุงก้นปล่องก็จะอยู่แหล่งน้ำใส ที่ป่าเขา
อันนี้ก็จะเป็นจุดที่มีความเสี่ยง
Q : กลุ่มเสี่ยง คือ ผู้ที่เข้าป่า ?
A : ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่ป่า
ประชาชนเข้าป่า ไปหาของป่า
แม้แต่นักท่องเที่ยวก็เหมือนกัน
สำคัญคือ ต้องระวังไม่ให้ถูกยุงกัดนี่แหละค่ะ
และก็มีโอกาสที่ยุงก้นปล่องจะไปกัดคนป่วย แล้วก็มากัดเราได้
แพร่เชื้อได้เช่นเดียวกัน
Q : ความกังวลสับสนกับโรคฝีดาษลิง ?
A : เป็นโรคที่ติดต่อได้จากลิงเช่นเดียวกัน แต่ลักษณะโรคจะแตกต่างกันมาก
มาลาเรีย เราจะต้องมีประวัติไปเข้าป่า ถูกยุงก้นปล่องกัด
ในขณะที่ ฝีดาษลิง จะเป็นการสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตุ่มน้ำ ตุ่มหนอง หรือตกสะเก็ด
คนป่วยโดยมากมักจะมีประวัติไปสัมผัสชาวต่างชาติ
หรือว่าเดินทางมาจากต่างประเทศ
ส่วนโรคมาลาเรียไม่ได้มีตุ่มน้ำ ตุ่มหนอง หรือตกสะเก็ดแบบนั้น
Q : ฝีดาษลิงยังไม่พบในลิงที่ไทย แต่มาลาเรียพบอยู่แล้ว ?
A : ปกติลิงมีเชื้อมาลาเรียด้วยอยู่แล้ว บางชนิดก็ไม่ได้ติดต่อมาสู่คน
ต้องเจอยุงนี่แหละเป็นพาหะในการไปกัดลิง แล้วก็มากัดคน
อย่างนี้ถึงจะแพร่โรคได้
ส่วนฝีดาษลิงเนี่ยนะคะ ในเมื่อ ลิงของประเทศไทย
ยังไม่เคยรับการสัมผัสลิงจากต่างประเทศ ก็ยังไม่มีอะไรที่น่าห่วงมาก
Q : เจ้าหน้าที่มีหลายมาตรการควบคุมโรค ?
A : กรมควบคุมโรค เรามีมาตรการ เรียกว่ามาตรการ 1-3-7
รายงานผู้ป่วยภายใน 1 วัน
เราก็จะสอบสวนโรคอย่างรวดเร็วภายใน 3 วัน
แล้วก็ไปดำเนินการควบคุมกำจัดการแพร่เชื้อภายใน 7 วัน
Q : แพทย์ก็เตือน ให้สังเกตอาการ โดยไม่ชะล่าใจ ?
A : โรคนี้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ นอกจากคนธรรมดาแล้ว
ไปเจอในหญิงตั้งครรภ์ อันนี้ก็อาจจะทำให้แท้งบุตรได้
คลอดก่อนกำหนดได้ด้วย
ดังนั้นเนี่ย ก็ไม่อยากให้ชะล่าใจว่า หายได้เองหรือเปล่า
เมื่อไหร่ที่ท่านมีไข้สูง หนาวสั่น มีประวัติไปเข้าป่า
หรือว่าบ้านอยู่ติดกับชายป่า ก็ขอให้รีบไปพบคุณหมอค่ะ
ก็จะได้รับการรักษา แล้วก็ตรวจแยกโรคออกมา ว่าเราป่วยเป็นอะไร
จะได้รับการรักษาที่ถูกต้องค่ะ
Q : แม้จะเป็นโรคที่อาจรุนแรง แต่ที่สำคัญคือ ไข้มาลาเรียป้องกันได้ ?
A : โรคไข้มาลาเรียเนี่ยนะคะ เป็นโรคติดต่อที่ป้องกันได้
ก็คือป้องกันไม่ให้ยุงกัดนี่แหละ
ยุงจะออกหากินตั้งแต่ค่ำ ไปจนถึงรุ่งสาง
ดังนั้นใครที่จะต้องเข้าไปในป่า หรือบ้านอยู่ตรงนั้น
แล้วต้องออกมาทำกิจกรรมข้างนอก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนกลางคืน
ป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด ก็คือสวมเสื้อผ้าปกปิดร่างกายให้มิดชิด
สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ใช้เสื้อผ้าสีอ่อน ๆ นะคะ ยุงก็จะไม่ค่อยกัดทายากันยุงค่ะ นอนในห้องที่มีมุ้งลวด หรือว่านอนในมุ้งทุกคืน
กรณีต้องเข้าไปค้างคืนในป่าเขา อันนี้ก็ต้องรู้จักป้องกันตัวเอง
ถ้าเกิดเรามีอาการที่น่าสงสัย สงสัยว่าเป็นมาลาเรีย หรือเปล่า
คือ มีประวัติเข้าไปป่านี่แหละ แล้วก็มีอาการไข้สูง หนาวสั่น
หรือตัวเหลือง ตาเหลือง อย่างนี้ก็ต้องรีบมาตรวจนะคะ
👉 ดูแลป้องกันด้วยความเข้าใจ ลดโอกาสต้องตามแก้ไขในภายหลังนะครับ
#ชัวร์ก่อนแชร์ #sureandshare
—————————————————–
🎯 หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์” 🎯
LINE | @SureAndShare หรือคลิก
FB |
Twitter |
IG |
Website |
TikTok |
ข่าวค่ำ | สำนักข่าวไทย อสมท | ช่อง 9 MCOT HD เลข 30 |
“ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : โรคไข้มาลาเรียโนวไซ “, นำมาจากแหล่งที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=KicDF-JLfIU
แท็กของ ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : โรคไข้มาลาเรียโนวไซ: #ชวรกอนแชร #FACTSHEET #โรคไขมาลาเรยโนวไซ
บทความ ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : โรคไข้มาลาเรียโนวไซ มีเนื้อหาดังต่อไปนี้: 2 มิ.ย. 65 – บนสังคมออนไลน์แชร์ข่าวสารเกี่ยวกับโรคติดต่อที่เกี่ยวข้องกับลิง ที่ชื่อว่า “โรคมาลาเรียโนวไซ” โรคนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร เราจะดูแลตัวเองได้อย่างไร
🎯 ตรวจสอบกับ แพทย์หญิงวรยา เหลืองอ่อน
ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี
สัมภาษณ์เมื่อ 1 มิถุนายน 2565
🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์
—————————————————–
📌 สรุป 📌
Q : โรคมาลาเรียโนวไซ เป็นอย่างไร
ติดต่อได้จากลิงสู่คนจริงหรือไม่
ประเทศไทยจะดูแลและป้องกันอย่างไร ?
A : โรคมาลาเรีย ก็มีหลายชื่อ ไข้ป่า ไข้จับสั่น ทางเหนืออาจจะเรียกว่า ไข้ดอกสัก
เกิดจากเชื้อโปรโตซัว ชื่อว่า พลาสโมเดียม (Plasmodium)
Q : เชื้อที่ทำให้เป็นไข้มาลาเรีย ไม่ได้มีแค่ชนิดเดียว ?
A : ก็จะมีอยู่ 5 ชนิดที่เราเจอเนี่ย เป็นสายพันธุ์ที่ชื่อ
Plasmodium knowlesi (พลาสโมเดียม โนวไซ) หรือ ย่อๆ ว่า P.k (พีเค)
เป็นสายพันธุ์ใหม่หรือเปล่า ? จริง ๆ มันอาจจะไม่ใช่สายพันธุ์ใหม่
แต่ว่าเป็นการตรวจเจอเพิ่มมากยิ่งขึ้น
Q : ความต่าง คือระยะฟักตัว ?
A : หลังจากติดเชื้อมาแล้วเนี่ย 7 วัน ถึง 14 วัน
หรือ ถ้าเป็นสายพันธุ์ P.k อาจจะ 3 วัน ก็จะเริ่มมีอาการไข้สูง หนาวสั่น
อันนี้เป็นสัญลักษณ์สำคัญของมาลาเรีย อาจจะมีตัวเหลือง ตาเหลือง
อาการแทรกซ้อนรุนแรงอย่างเช่น อาการไตมาลาเรียขึ้นสมอง
อวัยวะภายในล้มเหลว หายใจล้มเหลว เสียชีวิตได้ค่ะ
Q : สถานการณ์ในพื้นที่เป็นอย่างไรครับ ?
A : ปีนี้เราพบมากกว่าปีที่แล้วนะคะ ภาคตะวันออก 8 จังหวัด
ที่สำนักงานฯ เราดูแลอยู่เนี่ย ตั้งแต่มกราคม เป็นต้นมา จนปัจจุบัน
เราพบมาลาเรีย 21 ราย เทียบกับปีที่แล้ว (2564) เราพบมาลาเรีย แค่ 10 ราย
ปีนี้ที่น่าสนใจก็คือว่า เชื้อสายพันธุ์พลาสโมเดียม โนวไซ หรือ P.k กลายเป็นตัวหลัก
เราเจอ P.k เนี่ย 14 ราย ในจำนวน P.k 14 ราย ก็ไปเจอที่
จังหวัดตราด ประมาณ 10 ราย อำเภอเกาะช้าง แล้วก็มีที่จังหวัดจันทบุรี 4 ราย
ซึ่งตอนนี้เราก็ยังไม่ได้เจอผู้ป่วยเพิ่มเติม
Q : การติดต่อของมาลาเรีย มียุงเป็นตัวนำเชื้อ จากลิงสู่คน ?
A : เราพบตัว P.k ในพวกลิงแสม ลิงหางยาว
เมื่อยุงก้นปล่อง ซึ่งเป็นพาหะของโรคไปกัดลิง แล้วก็มากัดคน
ก็จะทำให้มีการถ่ายทอดโรคมาจากลิงสู่คนได้ค่ะ
คือ ก็จะต้องถูกยุงกัดนี่แหละ
ที่นี้ยุงก้นปล่องก็จะอยู่แหล่งน้ำใส ที่ป่าเขา
อันนี้ก็จะเป็นจุดที่มีความเสี่ยง
Q : กลุ่มเสี่ยง คือ ผู้ที่เข้าป่า ?
A : ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่ป่า
ประชาชนเข้าป่า ไปหาของป่า
แม้แต่นักท่องเที่ยวก็เหมือนกัน
สำคัญคือ ต้องระวังไม่ให้ถูกยุงกัดนี่แหละค่ะ
และก็มีโอกาสที่ยุงก้นปล่องจะไปกัดคนป่วย แล้วก็มากัดเราได้
แพร่เชื้อได้เช่นเดียวกัน
Q : ความกังวลสับสนกับโรคฝีดาษลิง ?
A : เป็นโรคที่ติดต่อได้จากลิงเช่นเดียวกัน แต่ลักษณะโรคจะแตกต่างกันมาก
มาลาเรีย เราจะต้องมีประวัติไปเข้าป่า ถูกยุงก้นปล่องกัด
ในขณะที่ ฝีดาษลิง จะเป็นการสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตุ่มน้ำ ตุ่มหนอง หรือตกสะเก็ด
คนป่วยโดยมากมักจะมีประวัติไปสัมผัสชาวต่างชาติ
หรือว่าเดินทางมาจากต่างประเทศ
ส่วนโรคมาลาเรียไม่ได้มีตุ่มน้ำ ตุ่มหนอง หรือตกสะเก็ดแบบนั้น
Q : ฝีดาษลิงยังไม่พบในลิงที่ไทย แต่มาลาเรียพบอยู่แล้ว ?
A : ปกติลิงมีเชื้อมาลาเรียด้วยอยู่แล้ว บางชนิดก็ไม่ได้ติดต่อมาสู่คน
ต้องเจอยุงนี่แหละเป็นพาหะในการไปกัดลิง แล้วก็มากัดคน
อย่างนี้ถึงจะแพร่โรคได้
ส่วนฝีดาษลิงเนี่ยนะคะ ในเมื่อ ลิงของประเทศไทย
ยังไม่เคยรับการสัมผัสลิงจากต่างประเทศ ก็ยังไม่มีอะไรที่น่าห่วงมาก
Q : เจ้าหน้าที่มีหลายมาตรการควบคุมโรค ?
A : กรมควบคุมโรค เรามีมาตรการ เรียกว่ามาตรการ 1-3-7
รายงานผู้ป่วยภายใน 1 วัน
เราก็จะสอบสวนโรคอย่างรวดเร็วภายใน 3 วัน
แล้วก็ไปดำเนินการควบคุมกำจัดการแพร่เชื้อภายใน 7 วัน
Q : แพทย์ก็เตือน ให้สังเกตอาการ โดยไม่ชะล่าใจ ?
A : โรคนี้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ นอกจากคนธรรมดาแล้ว
ไปเจอในหญิงตั้งครรภ์ อันนี้ก็อาจจะทำให้แท้งบุตรได้
คลอดก่อนกำหนดได้ด้วย
ดังนั้นเนี่ย ก็ไม่อยากให้ชะล่าใจว่า หายได้เองหรือเปล่า
เมื่อไหร่ที่ท่านมีไข้สูง หนาวสั่น มีประวัติไปเข้าป่า
หรือว่าบ้านอยู่ติดกับชายป่า ก็ขอให้รีบไปพบคุณหมอค่ะ
ก็จะได้รับการรักษา แล้วก็ตรวจแยกโรคออกมา ว่าเราป่วยเป็นอะไร
จะได้รับการรักษาที่ถูกต้องค่ะ
Q : แม้จะเป็นโรคที่อาจรุนแรง แต่ที่สำคัญคือ ไข้มาลาเรียป้องกันได้ ?
A : โรคไข้มาลาเรียเนี่ยนะคะ เป็นโรคติดต่อที่ป้องกันได้
ก็คือป้องกันไม่ให้ยุงกัดนี่แหละ
ยุงจะออกหากินตั้งแต่ค่ำ ไปจนถึงรุ่งสาง
ดังนั้นใครที่จะต้องเข้าไปในป่า หรือบ้านอยู่ตรงนั้น
แล้วต้องออกมาทำกิจกรรมข้างนอก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนกลางคืน
ป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด ก็คือสวมเสื้อผ้าปกปิดร่างกายให้มิดชิด
สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ใช้เสื้อผ้าสีอ่อน ๆ นะคะ ยุงก็จะไม่ค่อยกัดทายากันยุงค่ะ นอนในห้องที่มีมุ้งลวด หรือว่านอนในมุ้งทุกคืน
กรณีต้องเข้าไปค้างคืนในป่าเขา อันนี้ก็ต้องรู้จักป้องกันตัวเอง
ถ้าเกิดเรามีอาการที่น่าสงสัย สงสัยว่าเป็นมาลาเรีย หรือเปล่า
คือ มีประวัติเข้าไปป่านี่แหละ แล้วก็มีอาการไข้สูง หนาวสั่น
หรือตัวเหลือง ตาเหลือง อย่างนี้ก็ต้องรีบมาตรวจนะคะ
👉 ดูแลป้องกันด้วยความเข้าใจ ลดโอกาสต้องตามแก้ไขในภายหลังนะครับ
#ชัวร์ก่อนแชร์ #sureandshare
—————————————————–
🎯 หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์” 🎯
LINE | @SureAndShare หรือคลิก
FB |
Twitter |
IG |
Website |
TikTok |
ข่าวค่ำ | สำนักข่าวไทย อสมท | ช่อง 9 MCOT HD เลข 30 |
คำหลักของ ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : โรคไข้มาลาเรียโนวไซ: [คำหลัก]
ข้อมูลเพิ่มเติมของ ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : โรคไข้มาลาเรียโนวไซ:
ขณะนี้วิดีโอนี้มีจำนวนการดู 2850 วันที่สร้างวิดีโอคือ 2022-06-05 14:26:12 คุณสามารถดาวน์โหลดวิดีโอนี้ได้โดยไปที่ลิงก์นี้: https://www.youtubepp.com/watch?v=KicDF-JLfIU , tag: #ชวรกอนแชร #FACTSHEET #โรคไขมาลาเรยโนวไซ
ขอบคุณที่รับชมวิดีโอ: ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : โรคไข้มาลาเรียโนวไซ